สนธิสัญญาปารีส อาจหมายถึง ความตกลงหลายฉบับที่เจรจาและลงนามกันในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้นว่า
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1229), ระหว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและเรมงด์ที่ 7 เคานท์แห่งตูลูส เพื่อยุติสงครามครูเสดอัลบิเจ็นเซียน
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1259), ระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 10 แห่งฝรั่งเศส และ สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ, เฮนรีสละสิทธิในนอร์ม็องดี
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1303), ระหว่างพระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส และ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1323), หลุยส์ที่ 1 เคานท์แห่งฟลานเดอร์สสละการอ้างสิทธิในเซแลนด์
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1355), การแลกเปลี่ยนดินแดนระหว่างราชอาณาจักรฝรั่งเศสกับซาวอย
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1623), ระหว่าง ฝรั่งเศส, ซาวอย และ เวนิส เพื่อทำการฟื้นฟูดินแดนวาลเทลลินา โดยการพยายามกำจัดกองทหารสเปนที่ตั้งมั่นอยู่ที่นั่น
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1657), ระหว่าง อังกฤษและ ฝรั่งเศส เพื่อการเป็นพันธมิตรในการต่อต้านสเปน
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1763), ระหว่าง ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ฝรั่งเศส และ สเปนกับโปรตุเกส เพื่อยุติสงครามเจ็ดปี
- สนธิสัญญาสันติภาพปารีส (ค.ศ. 1783) ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ลงนามในสนธิสัญญากับฝรั่งเศส, สเปน, สาธารณรัฐดัตช์ และ สหรัฐอเมริกา
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783), ระหว่างสหรัฐอเมริกาและราชอาณาจักรบริเตนใหญ่เพื่อยุติสงครามปฏิวัติอเมริกัน
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1784) เพื่อยุติสงครามอังกฤษ-ดัตช์ครั้งที่ 4
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1796), เพื่อยุติสงครามระหว่างฝรั่งเศสและราชอาณาจักรพีดมอนท์-ซาร์ดิเนีย
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1810), ระหว่างฝรั่งเศสและสวีเดน เพื่อการยุติสงครามฟินแลนด์
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1814) หรือ สนธิสัญญาฟงแตงโบล (ค.ศ. 1814), ระหว่าง: จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 และ ฝ่ายมหาสัมพันธมิตร เพื่อยุติอำนาจการปกครองของนโปเลียนและส่งพระองค์ไปประทับที่เกาะเอลบา
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1814), ลงนามเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1814ระหว่าง: ฝรั่งเศสและพันธมิตรในสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่ 6เพื่อการยุติสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่ 6
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1815), ลงนามหลังจากการพ่ายแพ้ของนโปเลียนที่วอเตอร์ลู
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1856), รัสเซียและพันธมิตรของจักรวรรดิออตโตมัน, ราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย, ฝรั่งเศส และ สหราชอาณาจักร เพื่อยุติสงครามไครเมีย
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1857), เพื่อยุติสงครามอังกฤษ-เปอร์เซีย
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1898), เพื่อยุติสงครามสเปน-อเมริกา
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1900), ระหว่าง จักรวรรดิฝรั่งเศส และ จักรวรรดิฝรั่งเศส เพื่อยุติข้อพิพาทในสิทธิริโอ มูนิ (อิเควทอเรียลกินี)
- การประชุมสันติภาพปารีส (ค.ศ. 1919), เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1920), ฝ่ายมหาอำนาจ (ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร, อิตาลี และ ญี่ปุ่น) และโรมาเนีย เพื่อรับรองเอกราชของโรมาเนียเหนือเบสซาราเบีย
- สนธิสัญญาสันติภาพปารีส (ค.ศ. 1947) เพื่อการยุติสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างเป็นทางการ
- สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1951), เพื่อก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรปที่เป็นพื้นฐานของการก่อตั้งสหภาพยุโรปต่อมา
- ข้อตกลงสันติภาพปารีส (ค.ศ. 1973), เพื่อยุติความเกี่ยวข้องของสหรัฐอเมริกาในเวียดนาม
นับเป็นข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความครอบคลุมที่สุด นับตั้งแต่การจัดทำพิธีสารเกียวโตเมื่อปี ค.ศ 1997
ผู้แทน 196 ประเทศที่ร่วมประชุมเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกครั้งที่ 21 หรือ COP21 ที่กรุงปารีส รับรองข้อตกลงว่าด้วยการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อจำกัดระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกินระดับ 2 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม นับเป็นข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความครอบคลุมที่สุด นับตั้งแต่การจัดทำพิธีสารเกียวโตเมื่อปี ค.ศ 1997
รมต.ต่างประเทศของฝรั่งเศส Laurent Fabius กล่าวต่อที่ประชุมว่า เสียงตอบรับต่อข้อตกลงต่อสู้ภาวะโลกร้อนฉบับล่าสุดเป็นบวก และไม่มีเสียงคัดค้าน ดังนั้นเป็นที่แน่ชัดว่าที่ประชุมได้รับรองข้อตกลงฉบับนี้แล้วรมต. Fabius ใช้ค้อนเล็กทุบโต๊ะหลังคำประกาศดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดการเจรจาหารือยาวนานติดต่อกัน 2 สัปดาห์ และยังถือเป็นการทำลายภาวะชะงักงันเรื่องการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
เอกสารจำนวน 31 หน้าระบุถึงข้อตกลงที่ประเทศต่างๆเห็นพ้องกัน เป้าหมายเพื่อจำกัดระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกินระดับ 2 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ด้วยการจัดหาเงินช่วยเหลือมูลค่า 100,000 ล้านดอลล่าร์แก่ประเทศยากจน ทบทวนความก้าวหน้าทุกๆ 5 ปี และหาทางลดปริมาณก๊าซคาร์บอนที่เป็นสาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
เมื่อวันเสาร์ เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ บัน คี มูน กล่าวต่อที่ประชุม COP21 ว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องยอมรับว่าผลประโยชน์ของแต่ละประเทศนั้น ขึ้นอยู่กับความร่วมมือในระดับนานาชาติเพื่อจัดการปัญหาภาวะโลกร้อน
อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งที่มิได้นำมารวมไว้ในร่างข้อตกลงขั้นสุดท้าย คือการแบ่งสันปันส่วนความรับผิดชอบในหมู่ประเทศร่ำรวยและประเทศยากจน ว่าจะต้องจัดสรรเงินทุนให้โครงการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนมากน้อยแค่ไหน
นักวิเคราะห์เชื่อว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ข้อตกลงฉบับนี้ผ่านการรับรองของที่ประชุมได้ เป็นเพราะการที่บรรดาผู้นำประเทศมหาอำนาจต่างปรากฏตัวในวันแรกๆของการประชุม พร้อมรับปากว่าจะร่วมมือกันเพื่อกำจัดอุปสรรคในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน
ปธน.สหรัฐฯ บารัค โอบาม่า กล่าวว่าข้อตกลงฉบับนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจร่วมกันในการรักษาโลกของเรา และเป็นการชี้ให้เห็นถึงความจริงว่าปัญหาภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาฉุกเฉินที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งประเทศต่างๆได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเองว่าสามารถจัดการกับปัญหานี้ได้
ปธน.สหรัฐฯ บารัค โอบาม่า กล่าวว่าข้อตกลงฉบับนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจร่วมกันในการรักษาโลกของเรา และเป็นการชี้ให้เห็นถึงความจริงว่าปัญหาภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาฉุกเฉินที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งประเทศต่างๆได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเองว่าสามารถจัดการกับปัญหานี้ได้
ขณะเดียวกัน มีหลายประเทศต่อต้านข้อตกลงฉบับนี้ นำโดย จีน อินเดีย มาเลเซียและซาอุฯ ซึ่งยังต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเชื่อว่าการปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดจะสร้างผลร้ายต่อเศรษฐกิจของตน บรรดาประเทศเหล่านี้ยืนยันว่าประเทศพัฒนาแล้วควรแบกภาระด้านเงินช่วยเหลือให้แก่ประเทศยากจนมากกว่านี้
สำหรับประเทศในแถบแอฟริกาซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ต้องได้รับเงินช่วยเหลือเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ต่างลังเลในตอนแรกที่จะยอมรับข้อตกลง แต่ในที่สุดก็สามารถเจรจากันได้ และจะได้รับเงินทุนหลายพันล้านดอลล่าร์จากฝรั่งเศสและประเทศอื่น เพื่อใช้ลงทุนในโครงการพลังงานสะอาด
รมต.สิ่งแวดล้อมแอฟริกาใต้ เอ็ดน่า โมลีว่า ระบุว่าแม้ไม่ใช่ข้อตกลงที่สมบูรณ์แบบ และมีทั้งคนที่เห็นด้วยและคัดค้าน แต่ในที่สุดเราก็สามารถมาถึงจุดนี้ได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องน่ายินดี
รมต.สิ่งแวดล้อมแอฟริกาใต้ เอ็ดน่า โมลีว่า ระบุว่าแม้ไม่ใช่ข้อตกลงที่สมบูรณ์แบบ และมีทั้งคนที่เห็นด้วยและคัดค้าน แต่ในที่สุดเราก็สามารถมาถึงจุดนี้ได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องน่ายินดี
ด้านผู้จัดประชุมเชื่อว่าการที่ 196 ประเทศสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ในการประชุม COP21 ครั้งนี้ ถือเป็นหน้าสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของความร่วมมือระดับชาติในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
https://www.voathai.com/a/paris-climate-agreement-ss/3101747.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น